ประวัตินางลำหับ



ประวัตินางลำหับ
        พระราชนิพนธ์ เรื่อง เงาะป่านี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ขณะทรงพักผ่อนเมื่อประชวรเป็นไข้ พระองค์พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องเงาะป่าเพื่อแก้รำคาญ โดยใช้เค้าเรื่องของชาวป่าที่ยายละมุดหญิงเผ่าซาไกเล่าถวายเมื่อครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ส่วนถ้อยคำภาษาของพวกเงาะทรงสอบถามจากนายคนัง เด็กชายชาวเงาะซึ่งพระองค์ทรงพระเมตตาซุบเลี้ยงไว้ ทรงพระราชนิพนธ์เพียง ๘ วันเท่านั้นก็เสร็จ โดยมิได้มีพระราชประสงค์ให้เล่นละคร ลักษณะการแต่ง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละครมีแนวเรื่องและฉากเหตุการณ์แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ ให้ความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลประเภทหนึ่งที่เรียกว่า เงาะตลอดจนภาษาของเขา ทั้งสำนวนกลอนก็ไพเราะลึกซึ้ง ในบางแห่งทรงพรรณนาได้งดงามกินใจ และในบางแห่งก็ทรงแทรกคติชีวิตไว้อย่างคมคายสำนวนโวหาร ใช้ภาษาแบบชาวบ้าน ชาวป่าและมีภาษาเงาะปนอยู่ด้วยให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะด้วย
เนื้อเรื่อง
ซมพลารักอยู่กับนางลำหับ แต่ผู้ใหญ่ได้หมั้นหมายนางลำหับไว้กับฮเนา ในวันแต่งงาน ซมพลาได้พานางลำหับหนีไปซ่อนในถ้ำ ฮเนาติดตามไปพบซมพลาจึงได้ต่อสู้กัน ชมพลาเสียชีวิตเพราะถูกลูกดอกอาบยาพิษของรำแก้วพี่ชายฮเนา ลำหับซึ่งคอยชมพลาอยู่ในถ้ำออกติดตามพบซมพลาตายจึงฆ่าตัวตาตาม ฮเนาเห็นความรักของคนทั้งสองจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะเสียใจที่ตนเป็น ต้นเหตุให้คนทั้งสองตาย